เมนู

ประตูนั้นแล้วทับคนที่มา ด้วยคิดว่า เราจักทำลายประตูเมืองเข้าไปด้วย
ฟ้าทับเหวนั้น. บทว่า สนฺธิมฺปิ ฉินฺทนฺติ คือ โจรทั้งหลายย่อมตัดที่ต่อ
ของเรือนบ้าง. บทว่า นิลฺโปํ ปล้น คือ ประหารชาวบ้านแล้วทำการ
ปล้น . บทว่า เอกาคาริกํ เรือนหลังเดียว คือโจร 50 คนบ้าง 60 คน
บ้าง ล้อมจับเป็นแล้วปล้นเอาทรัพย์ไป. บทว่า ปริปนฺเถปิ ติฏฺฐนฺติ
ยืนดักที่ทางเปลี่ยวบ้าง คือปล้นคนเดินทาง. บทว่า อฑฺฒทณฺฑเกหิ
ด้วยพลอง คือด้วยค้อน. บทที่เหลือมีเนื้อความดังได้กล่าวแล้วนั่นแล.
จบคาถาที่ 6

คาถาที่ 7


17 ) อีตี จ คณฺโฑ จ อุปทฺทโว จ
โรโค จ สลฺลญฺจ ภยญฺจ เมตํ
เอตํ ภยํ กามคุเณสุ ทิสฺวา
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลเห็นภัย เป็นเสนียด เป็นดังฝี เป็นอุปัทวะ เป็น
โรค เป็นลูกศร และเป็นภัย บุคคลเห็นภัยนี้ในกามคุณ
ทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 7 ดังต่อไปนี้.
กามชื่อว่า อีติ เพราะเป็นเสนียด. บทนี้เป็นชื่อของเหตุแห่งความ
พินาศทั้งหลาย อันเป็นส่วนแห่งอกุศลที่จรมา. เพราะฉะนั้น แม้กามคุณ
เหล่านี้ ก็ชื่อว่า อีติ เสนียด เพราะนำมาซึ่งความพินาศไม่น้อย และ

เพราะตกจมไปอย่างหนัก. แม้ฝีที่บวมสุกกลัดหนองก็แตก มีของไม่
สะอาดไหลออก. เพราะฉะนั้น กามเหล่านั้นชื่อว่า เป็นดังหัวฝี เพราะ
เป็นที่ไหลออกแห่งกิเลสซึ่งไม่สะอาด และเพราะกามทั้งหลายบวมพองขึ้น
สุกแล้วแตกไปด้วยความเกิด ความแก่ และความดับ. ชื่อว่า อุปทฺทโว
เพราะอุบาทว์. อธิบายว่า อุบาทว์ยังความพินาศให้เกิดขึ้น ครอบงำ
ท่วมทับซึ่งบุคคลผู้ติดอยู่ในกามนั้น. คำนี้เป็นชื่อของโทษทั้งหลายมี
อาชญาแผ่นดินเป็นต้น. เพราะฉะนั้น กามคุณเหล่านี้ จึงชื่อว่า อุบาทว์
เพราะเป็นเหตุไม่ให้บุคคลถึงซึ่งพระนิพพานอันตนยังไม่ทราบแล้ว และ
เพราะเป็นที่ตั้งแห่งอันตรายทั้งปวง. ก็เพราะเหตุที่กามคุณเหล่านั้นยังความ
เดือดร้อนเพราะกิเลสให้เกิด หรือยังความปรารถนาในความไม่มีโรค
กล่าวคือความเป็นปกติให้เกิดขึ้น ย่อมทำลายความไม่มีโรคคือความเป็น
ปกตินั่นเอง ฉะนั้น กามจึงชื่อว่าโรค เพราะอรรถว่า ทำลายความไม่มี
โรค. อนึ่ง ชื่อว่าเป็นดังลูกศร เพราะอรรถว่า เสียบเข้าไปภายใน เพราะ
อรรถว่า เจาะในภายใน และเพราะอรรถว่า นำออกไปได้ยาก. ชื่อว่า
ภยํ เพราะนำภัยในปัจจุบันและภพหน้ามา. บทว่า เมตํ ตัดบทเป็น เม
เอตํ. บทที่เหลือชัดดีแล้ว. แม้บทสรุปก็พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว
นั้นแล.
บทว่า กามราคตฺตยํ คือ สัตว์นี้กำหนัดด้วยกามราคะ. บทว่า
ฉนฺทราควินิพนฺโธ คือ อันฉันทราคะผูกพันด้วยความเสน่หา. บทว่า
ทิฏฺฐธมฺมกาปิ คพฺภา จากครรภ์อัน มีในปัจจุบัน คือจากครรภ์ ได้แก่
สฬายตนะอันเป็นไปอยู่ในปัจจุบัน. บทว่า สมฺปรายิกาปิ ภยา คือ จาก
ครรภ์ ได้แก่ สฬายตนะในโลกหน้า. บทว่า น ปริมุจฺจติ คือ ไม่สามารถ

พ้นไปได้. บทว่า โอติณฺโณ สาตรูเปน หยั่งลงแล้วด้วยราคะอันน่ายินดี
คือก้าวลง หยั่งลงด้วยราคะ อันมีสภาพอร่อย . บทว่า ปลิปถํ คือ สู่ทาง
มีเปือกตมคือกาม. บทว่า ทุคฺคํ คือข้ามได้ยาก.
จบคาถาที่ 7

คาถาที่ 8


18) สีตญฺจ อุณหญฺจ ขุทํ ปิปาสํ
วาตาตเป ฑํสสิรึสเป จ
สพฺพานิเปตานิ อภิสมฺภวิตวา
เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า พึงครอบงำภัยเหล่านี้แม้
ทั้งปวง คือ ความหนาว ความร้อน ความหิว ความ
กระหาย ลม แดด เหลือบ และสัตว์เสือกคลานแล้ว
พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ 8 ดังต่อไปนี้.
ความหนาวมี 2 อย่าง คือ ธาตุภายในกำเริบเป็นปัจจัย 1 ธาตุ
ภายนอกกำเริบเป็นปัจจัย 1. ความร้อนก็เหมือนกัน. ในบทเหล่านั้น
บทว่า ฑํส คือ เหลือบ. บทว่า สิรึสเป คือ สัตว์เลื้อยคลานจำพวกใด
จำพวกหนึ่งซึ่งเลื้อยคลานไป. บทที่เหลือชัดดีแล้ว . แม้บทสรุปก็พึงทราบ
โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
จบคาถาที่ 8